ครั้งที่ 7
Input Process Output
โรงงานน้ำตาล การสกัดน้ำอ้อย น้ำตาลทราย
เครื่องจักร การทำความสะอาดน้ำอ้อย กากน้ำตาล
วัตถุดิบ การต้มให้ได้น้ำเชื่อม
แรงงาน การเคี่ยวให้เป็นผลึกและกาก
เงินทุน การปั่นแยกผลึกน้ำตาล
การอบ
การบรรจุถุง
Input Process output ในมหาวิทยาลัย
อาจารย์ การจัดการเรียนการสอน นักศึกษาคณะครุศาสตร์ที่จบปริญญา
สื่อการศึกษา การอบรม
นักศึกษา การลงทะเบียนเรียน
สภานศึกษา การบันทึกผล
หลักสูตร การฝึกงาน
เงินทุน หรือ งบประมาณ กิจกรรมส่งเสริมด้านต่างๆ คุณธรรม จริยธรรม เป็นต้น
...สื่อการสอน (Instruction Media)
วาสนา ชาวหา ได้ให้ความหมายไว้ว่า สิ่งใดก็ตามที่เป็นตัวกลางหรือพาหะนำความรู้ไปสู่ผู้เรียน และทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้เป็นอย่างดี
...ความสำคัญของสื่อการสอน
1. เป็นเครื่องมือช่วยสอน ผู้เรียนสามารถตามเนื้อหาได้ง่ายขึ้น
2. เป็นเครื่องมือช่วยในการเรียนรู้ของผู้เรียน ผู้เรียนจะใช้สื่อเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง
3. เป็นเครื่องมือช่วยในการจัดการเกี่ยวกับการสอน เปลี่ยนผู้สอนจาก "ผู้บอก" มาเป็น "ผู้จัดการและกำกับดูแล"
4. เป็นเครื่องมือช่วยเพิ่มคุณภาพทางการศึกษา
...คุณค่า
1. ทำสิ่งซับซ้อนให้ดูง่ายขึ้น
2. ทำสิ่งที่เป็นนามธรรมห้เป็นรูปธรรมมากขึ้น
3. สิ่งที่เคลื่อนไหวเร็วให้ดูช้าลง
4. สิ่งที่เคลื่อนไหวช้าให้ดูเร็วขึ้น
5. ทำสิ่งที่ใหญ่มากให้เล็กเหมาะแก่การศึกษา
6. ทำสิ่งที่เล็กมากให้มองเห็นได้ชัด
7. นำสิ่งที่เกิดในอดีตมาศึกษาในปัจจุบัน
8. นำสิ่งที่อยู่ไกลมาศึกษาในห้องเรียนได้
...ประเภทของสื่อ
1. Hardware สิ่งที่เป็นตัวกลางหรือตัวผ่านทำให้ข้อมูลความรู้ที่บันทึกไว้ในวัสุสามารถถ่ายทอดออกมาให้เห็นหรือได้ยิน เช่น เครื่องฉายภาพโปร่งใส (Overhead Projector) เครื่องเล่นเทป
2. Software สื่อที่เก็บความรู้อยู่ในตัวเอง จำแนกได้ 2 ลักษณะ
2.1 วัสดุที่สามารถถ่ายทอดเนื้อหาได้ด้วยตนเอง เช่น แผนที่ ลูกโลก หุ่นจำลอง เป็นต้น
2.2 วัสดุที่ไม่สามารถถ่ายทอดเนื้อหาได้ด้วยตนเอง ต้องอาศัยอุปกรณ์อื่นเข้ามาช่วย เช่น แผ่นเสียง สไลด์ เป็นต้น
3. Technique and Method หมายถึง สื่อที่มีลักษณะเน้นแนวความคิดหรือรูปแบบขั้นตอนในการเรียนการสอน เป็นสำคัญอาจจนำเอาวัสดุหรืออุปกรณ์มาช่วยในการสอนด้วยก็ได้
...สื่อการสอนในทางเทคโนโลยีการศึกษา
หมายถึง ตัวกลางที่ทำให้ความเป็นนามธรรมเปลี่ยนเป็นรูปธรรม ...สื่อกลางของการสื่อสารและกระบวนการเรียนการสอน
...เทคโนโลยีการศึกษา
วิธีการที่เกิดประโยชน์
เพื่อการถ่ายทอดข้อมูลความรู้
...ชแรมม์ ได้จำแนกสื่อตามความเก่าใหม่ของการเกิดเป็น 4 รุ่น ดังนี้
1. รุ่นทวด ได้แก่ กระดานชอลค การสาธิต การแสดงละคร
2. รุ่นปู่ ได้แก่ สื่อการสอนพวกตำราเรียน แบบทดสอบ เกิดขึ้นหลังปี ค.ศ. 1450
3. รุ่นพ่อ ได้แก่ สื่อประเภท ภาพถ่าย สไลด์ ผิลม์สตริพ
4. รุ่นปัจจุบัน
...สื่อเทคโนโลยีการศึกษา
1. ส่อสามมิติ (Three Dimension Media) เช่น ของจริง (Realia) ของตัวอย่าง (Specimen) หุ่นจำลอง (Model) หุ่นตัดแบบ (Mock-Up)
2. สื่อสองมิติ (Two Dimension Media) เช่น
สื่อทึบแสง (Opaque Media) ได้แก่ รูปภาพ แผนภาพ แผนสถิติ ภาพโฆษณา แผนที่
สื่อโปร่ง ได้แก่ แผ่นโปร่งใส สไลด์ ฟิล์มสตริพ (Filmstrip)
สื่อโปร่งใสเคลื่อนไหว
3. สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Media) เช่น เทปวิดิทัศน์ แผ่นวิดิทัศน์ คอมพิวเตอร์ เทปเสียง แผ่นเสียง
...สื่อการสอน
Motion Media : Video Cassette Film
Text : Book and handouts
Audio : Radio Cassette
Object : ไม่ทันอ่ะ
Visuals : ไม่ทันอ่ะ
สื่อการสอนในศตวรรษที่ ๒๑ : Digital Audio, Desktop publishing, Virtual Reality, Digital Video Interactive, CD-ROM
...แนวโน้มของสื่อและเทคโนโลยี
ขนาด : สื่อขนาดเล็ก
ระบบ : การใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ในการับส่งข้อมูล
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับครู
วันอังคารที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2557
ครั้งที่ 6
System
ระบบประกอบด้วยส่วนประกอบที่ได้ถูกกำหนดไว้ให้ทำหน้าที่โดยมีเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ร่วมกัน
กลุ่มขององค์ประกอบต่างๆที่มีความสัมพันธ์กัน
แต่ละองค์ประกอบมีความสำคัญ
แต่ละองค์ประกอบจะประสานการทำงานร่วมกันเพื่อบรรลุสู่เป้าหมายเดียวกัน
A set of elements or components that interact to accomplish goals.
(Stair, Ralph M. 1996)
A group of interrlated or interacting elements forming a unified whole.
Example of system
ลักษณะของระบบเชิงกายภาพ
ปัจจัยนำเข้า
กระบวนการ
ผลลัพธ์
Input > Process > Output
ประเภทของระบบ
1. ระบบปิด (Closed System) ระบบที่โดดเดี่ยว ไม่มีการติดต่อกับระบบอื่นๆ เช่น สัญญาณไฟจราจร
2. ระบบเปิด (Open System) ระบบที่มีการโต้ตอบกับระบบอื่นๆ เช่ ATM กดเงิน 5000 ออกมา 2000 ทำให้เราต้องติดต่อระบบที่ธนาคาร นั่นเอง
การผลิตน้ำตาลทรายจัดว่าเป็น System หรือไม่? (เอ : เป็นสิครัช เพราะอาจารย์สอนมาไง คำถามนี้ไม่น่าถามนะครัช 555)
System
ระบบประกอบด้วยส่วนประกอบที่ได้ถูกกำหนดไว้ให้ทำหน้าที่โดยมีเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ร่วมกัน
กลุ่มขององค์ประกอบต่างๆที่มีความสัมพันธ์กัน
แต่ละองค์ประกอบมีความสำคัญ
แต่ละองค์ประกอบจะประสานการทำงานร่วมกันเพื่อบรรลุสู่เป้าหมายเดียวกัน
A set of elements or components that interact to accomplish goals.
(Stair, Ralph M. 1996)
A group of interrlated or interacting elements forming a unified whole.
Example of system
ลักษณะของระบบเชิงกายภาพ
ปัจจัยนำเข้า
กระบวนการ
ผลลัพธ์
Input > Process > Output
ประเภทของระบบ
1. ระบบปิด (Closed System) ระบบที่โดดเดี่ยว ไม่มีการติดต่อกับระบบอื่นๆ เช่น สัญญาณไฟจราจร
2. ระบบเปิด (Open System) ระบบที่มีการโต้ตอบกับระบบอื่นๆ เช่ ATM กดเงิน 5000 ออกมา 2000 ทำให้เราต้องติดต่อระบบที่ธนาคาร นั่นเอง
การผลิตน้ำตาลทรายจัดว่าเป็น System หรือไม่? (เอ : เป็นสิครัช เพราะอาจารย์สอนมาไง คำถามนี้ไม่น่าถามนะครัช 555)
ตัวอย่างนักจิตวิทยาที่มีความโดดเด่นทางด้านทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนรู้ เช่น Bloom, Mayer, Bruner, Tylor และ Gagne
ระดับการเรียนรู้ของ Bloom
1. ความรู้ที่เกิดจากการจำ (Knowledge) ซึ่งเป็นระดับล่างสุด
2. ความเข้าใจ (Comprehend)
3. การประยุกต์ (Application)
4. การวิเคราะห์ (Analysis) สามารถแก้ปัญหาได้
5. การสังเคราะห์ (Synthesis)
6. การประเมินค่า (Evaluation) วัดได้
การเรียนรู้ตามทฤษฎีของ Mayer
ในการออกแบบสื่อการเรียนการสอน การวิเคราะห์ ความจำเป็น เป็นสิ่งสำคัญและตามด้วยจุดประสงค์ของการเรียนโดยแบ่งออกเป็นส่วนย่อยๆ 3 ส่วนด้วยกัน
1. พฤติกรรม ควรชี้ชัดและสังเกตได้
2. เงื่อนไข พฤติกรรมนั้นจะสำเร็จได้ ควรมีเงื่อนไขการช่วยเหลือ
3. มาตรฐาน พฤติกรรมที่ได้นั้นสามารถอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด
การเรียนรู้ตามทฤษฎีของ Bruner
1. ความรู้หรือการเรียนรู้ถูกสร้างหรือถูกหล่อหลอมด้วยประสบการณ์
2. ผู้เรียนมีบทบาทรับผิดชอบในการเรียน
3. ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความหมายขึ้นมาจากแง่มุมต่างๆ
4. ผู้เรียนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นจริง
5. ผู้เรียนเลือกเนื้อหาและกิจกรรมเอง
6. เนื้อหาควรถูกมองในภาพรวม
การเรียนรู้ตามทฤษฎีของ Tylor
1. ความต่อเนื่อง (Continuity) หมายถึง ในวิชาทักษะต้องเปิดโอกาสให้มีการฝึกทักษะในกิจกรรมและประสบการณ์บ่อยๆและต่อเนื่อง
2. การจัดช่วงลำดับ (Sequence) หมายถึง การจัดสิ่งที่มีความง่ายไปสู่สิ่งที่มีความยาก
3. บูรณาการ (Integration) หมายถึง การจัดประสบการณ์ ควรเป็นในลักษณะที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เพิ่มพูนความคิดเห็นและแสดงพฤติกรรมที่สอดคล้องกัน
การเรียนรู้ตามทฤษฎีของ Gagne
1. การจูงใจ (Motivation Phase)
2. การรับรู้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ (Apprehending Phase)
3. การปรุงแต่งสิ่งที่รับรู้ไว้เป็นความจำ (Acquisition Phase)
4. ความสามารถในการจำ (Retention Phase)
5. ความสามารถ ในการระลึกถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว (Recall Phase)
6. การรำไปประยุกต์ใช้กับสิ่งที่เรียนรู้ไปแล้ว (Generalization Phase)
7. การแสดงออกพฤติกรรมที่เรียนรู้ (Performance Phase)
8. การแสดงผลการเรียนรู้กลับไปยังผู้เรียน (Feedback Phase)
การเรียนรู้เริ่มเกิดเมื่อมีสิ่งเร้ามากระตุ้นบุคคล ระบบประสาทจะตื่นตัวเกิดการรับสัมผัสทั้ง 5 แล้วส่งกระแสประสาทไปยังสมองเพื่อแปลความหมายโดยอาศัยประสบการณ์เดิมเป็นการรับรู้ใหม่ อาจสอดคล้องหรือแตกต่างไปจากประสบการณ์เดิม แล้วสรุปผลของการรับรู้นั้น เป็นความเข้าใจหรือความคิดรวบยอดและมีปฏิกิริยาตอบสนองอย่างใดอย่างหนึ่งต่อสิ่งเร้าตามที่รับรู้ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม แสดงว่าเกิดการเรียนรู้
Stimuls > Sensation > Perception > Concept > Response > Learning
สิ่งเร้า ประสาทสัมผัส การรับรู้ การคิดรวบยอด การตอบสนอง เกิดการเรียนรู้
การรับรู้ (Perception)
การรับรู้ เป็นพื้นฐานการเรียนรู้ที่สำคัญของบุคคล เพราะการตอบสนองพฤติกรรมใดๆ จะขึ้นอยู่กับ การรับรู้จากสภาพแวดล้อมของตน และความสามารถในการเเปลควาหมายของสภาพนั้นๆ ดังนั้นการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพจึงขึ้นอยู่กับการรับรู้และสิ่งเร้าที่มีประสิทธิภาพซึ่งปัจจัยการรับรู้ประกอบด้วย ประสาทสัมผัส และ ปัจจัยทางจิต เแก่ ความรู้เดิม ความต้องการ และเจตคติ เป็นต้น
หลักการรับรู้ในทางการศึกษาที่สำคัญ
1. การรับรู้จะพัฒนาตามวัย และความสามารถทางสติปัญญาที่จะรับรู้สิ่งภายนอกอย่างถูกต้องเหมาะสม
2. การรับรู้โดยการเห็น จะก่อให้เกิดความเข้าใจดีกว่าการได้ยิน และประสาทสัมผัสอื่นๆ ดังนั้นการเรียนรู้โดยผ่านประสาทสัมผัสมาก จะก่อให้เกิดความเข้าใจที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
3. ลักษณะและวิธีการรับรู้ของแต่ละคน จะแตกต่างกันตามพื้นฐานของบุคลิกภาพ และจะแสดงออกตามที่ได้รับรู้และเจตคติของเขา
4. การเข้าใจผู้เรียนทั้งในด้านคุณลักษณะและสภาพแวดล้อม จะเป็นผลดีต่อการจัดการเรียนการสอน
การถ่ายโยงการเรียนรู้ (Transfer of Learning)
1. Thorndike กล่าวถึง การถ่ายโยงการเรียนรู้จากสถานการณ์หนึ่งไปสู่อีกสถานการณ์หนึ่งว่า สถานการณ์ทั้ง 2 จะต้องมีองค์ประกอบที่คล้ายคลึงกัน คือ เนื้อหา วิธีการ และเจตคติที่สัมพันธ์กันกับสถานการณ์เดิม
2. Gestalt กล่าวว่า การถ่ายโยงการเรียนรู้จะเกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนได้มองเห็นรูปร่างทั้งหมดของปัญหาและรับรู้ความสัมพันธ์นั้นเข้าไป กล่าวคือ สถานการณ์ใหม่จะต้องสัมพันธ์กับสถานการณ์เดิม
หลักการและแนวคิดที่สำคัญเกี่ยวกับการถ่ายโยงการเรียนรู้
1. การถ่ายโยง ควรจะต้องปลูกฝังความรู้ความคิด เกี่ยวกับกฏเกณฑ์ต่างๆ เป็นพื้นฐานที่สามารถนำไปใช้ในสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกัน
2. ผู้สอนควใช้วิธีการแก้ปัญหา หรือวิธีการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีโอกาสคิดและเกิดทักษะอย่างกว้างขวาง ซึ่งจะเป็นวิธีการที่ช่วยให้เห็นความสัมพันธ์ของความรู้
3. การถ่ายโยงจะเกี่ยวข้องกับความแตกต่างระหว่างบุคคล กิจกรรมการเรียนการสอน จึงต้องคำนึงหลักการดังกล่าว
การสื่อความหมาย (Communication)
การสื่อความหมายเป็นพฤติกรรมสำคัญที่สัตว์สังคมทุกชนิดใช้เป็นเครื่องมือในการติดต่อซึ่งกันและกัน แสดงถึงความเป็นหมู่เหล่าเผ่าพันธุ์เดียวกัน รากศัพท์จากภาษาลาตินว่า Communis หรือ Commus แปลว่า คล้ายคลึง หรือร่วมกันวซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า Communication
การสื่อความหมายจึงเป็นกระบวนการส่งหรือถ่ายทอดความรู้ เนื้อหาสาระ ความรู้สึกนึกคิด ทัศนคติ ค่านิยม ทักษะ ตลอดจนประสบการณ์จากบุคคลฝ่ายหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า "ผู้ส่ง" ไปยังบุคคลอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเรียกว่า "ผู้รับ" เราสามารถส่งข้อมูลได้โดยทางภาพ หรือ ทางเสียง
โครงสร้างและองค์ประกอบของกระบวนการสื่อความหมาย
1. ผู้ส่ง (Source or Sender) แหล่งกำเนิดสาร เป็นสัตว์หรือหน่วยงานก็ได้
2. สาร (Message) คือ เนื้อหาสาระ ทัศนคติ ทักษะ ประสบการณ์ที่มีอยู่ในตัวผู้ส่งหรือแหล่งกำเนิด
3. ช่องทาง (Channel) คือช่องทางต่างๆที่ใช้ในการรับรู้สาร ได้แก่ หู ตา จมูก ปาก เป็นต้น
4. ผู้รับ (Receiver) คือบุคคล องค์การ หรือหน่วยงานที่รับรู้สารจากผู้ส่ง เข้าสู่ตนเอง
- - - หลังจากนั้นอาจารย์ก็ไปเร็วโดยอธิบายย่อๆให้ฟัง แล้วก็มีกระต่ายกับกระเต่า
สรุปความสัมพันธ์ของการรับรู้ การเรียนรู้ และการสื่อความหมาย
จากที่กล่าวมา การเรียนรู้เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวรอันเนื่องเป็นผลมาจากประสบการณ์หรือการปฏิบัติซ้ำๆบ่อยๆ โดยรับรู้ทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 เมื่อเกิดกระบวนการทั้ง 2 อย่างนี้แล้วก็จะทำให้สามารถถ่ายทอดความรู้ความสามารถ เนื้อหา สาระ ความรู้สึกนึกคิด ทัศนคติ ค่านิยม ทักษะ ตลอดจนประสบการณ์จาก ผู้ส่ง ไปยัง ผู้รับ ได้อย่างถูกต้องแม่นยำ
ระดับการเรียนรู้ของ Bloom
1. ความรู้ที่เกิดจากการจำ (Knowledge) ซึ่งเป็นระดับล่างสุด
2. ความเข้าใจ (Comprehend)
3. การประยุกต์ (Application)
4. การวิเคราะห์ (Analysis) สามารถแก้ปัญหาได้
5. การสังเคราะห์ (Synthesis)
6. การประเมินค่า (Evaluation) วัดได้
การเรียนรู้ตามทฤษฎีของ Mayer
ในการออกแบบสื่อการเรียนการสอน การวิเคราะห์ ความจำเป็น เป็นสิ่งสำคัญและตามด้วยจุดประสงค์ของการเรียนโดยแบ่งออกเป็นส่วนย่อยๆ 3 ส่วนด้วยกัน
1. พฤติกรรม ควรชี้ชัดและสังเกตได้
2. เงื่อนไข พฤติกรรมนั้นจะสำเร็จได้ ควรมีเงื่อนไขการช่วยเหลือ
3. มาตรฐาน พฤติกรรมที่ได้นั้นสามารถอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด
การเรียนรู้ตามทฤษฎีของ Bruner
1. ความรู้หรือการเรียนรู้ถูกสร้างหรือถูกหล่อหลอมด้วยประสบการณ์
2. ผู้เรียนมีบทบาทรับผิดชอบในการเรียน
3. ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความหมายขึ้นมาจากแง่มุมต่างๆ
4. ผู้เรียนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นจริง
5. ผู้เรียนเลือกเนื้อหาและกิจกรรมเอง
6. เนื้อหาควรถูกมองในภาพรวม
การเรียนรู้ตามทฤษฎีของ Tylor
1. ความต่อเนื่อง (Continuity) หมายถึง ในวิชาทักษะต้องเปิดโอกาสให้มีการฝึกทักษะในกิจกรรมและประสบการณ์บ่อยๆและต่อเนื่อง
2. การจัดช่วงลำดับ (Sequence) หมายถึง การจัดสิ่งที่มีความง่ายไปสู่สิ่งที่มีความยาก
3. บูรณาการ (Integration) หมายถึง การจัดประสบการณ์ ควรเป็นในลักษณะที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เพิ่มพูนความคิดเห็นและแสดงพฤติกรรมที่สอดคล้องกัน
การเรียนรู้ตามทฤษฎีของ Gagne
1. การจูงใจ (Motivation Phase)
2. การรับรู้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ (Apprehending Phase)
3. การปรุงแต่งสิ่งที่รับรู้ไว้เป็นความจำ (Acquisition Phase)
4. ความสามารถในการจำ (Retention Phase)
5. ความสามารถ ในการระลึกถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว (Recall Phase)
6. การรำไปประยุกต์ใช้กับสิ่งที่เรียนรู้ไปแล้ว (Generalization Phase)
7. การแสดงออกพฤติกรรมที่เรียนรู้ (Performance Phase)
8. การแสดงผลการเรียนรู้กลับไปยังผู้เรียน (Feedback Phase)
การเรียนรู้เริ่มเกิดเมื่อมีสิ่งเร้ามากระตุ้นบุคคล ระบบประสาทจะตื่นตัวเกิดการรับสัมผัสทั้ง 5 แล้วส่งกระแสประสาทไปยังสมองเพื่อแปลความหมายโดยอาศัยประสบการณ์เดิมเป็นการรับรู้ใหม่ อาจสอดคล้องหรือแตกต่างไปจากประสบการณ์เดิม แล้วสรุปผลของการรับรู้นั้น เป็นความเข้าใจหรือความคิดรวบยอดและมีปฏิกิริยาตอบสนองอย่างใดอย่างหนึ่งต่อสิ่งเร้าตามที่รับรู้ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม แสดงว่าเกิดการเรียนรู้
Stimuls > Sensation > Perception > Concept > Response > Learning
สิ่งเร้า ประสาทสัมผัส การรับรู้ การคิดรวบยอด การตอบสนอง เกิดการเรียนรู้
การรับรู้ (Perception)
การรับรู้ เป็นพื้นฐานการเรียนรู้ที่สำคัญของบุคคล เพราะการตอบสนองพฤติกรรมใดๆ จะขึ้นอยู่กับ การรับรู้จากสภาพแวดล้อมของตน และความสามารถในการเเปลควาหมายของสภาพนั้นๆ ดังนั้นการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพจึงขึ้นอยู่กับการรับรู้และสิ่งเร้าที่มีประสิทธิภาพซึ่งปัจจัยการรับรู้ประกอบด้วย ประสาทสัมผัส และ ปัจจัยทางจิต เแก่ ความรู้เดิม ความต้องการ และเจตคติ เป็นต้น
หลักการรับรู้ในทางการศึกษาที่สำคัญ
1. การรับรู้จะพัฒนาตามวัย และความสามารถทางสติปัญญาที่จะรับรู้สิ่งภายนอกอย่างถูกต้องเหมาะสม
2. การรับรู้โดยการเห็น จะก่อให้เกิดความเข้าใจดีกว่าการได้ยิน และประสาทสัมผัสอื่นๆ ดังนั้นการเรียนรู้โดยผ่านประสาทสัมผัสมาก จะก่อให้เกิดความเข้าใจที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
3. ลักษณะและวิธีการรับรู้ของแต่ละคน จะแตกต่างกันตามพื้นฐานของบุคลิกภาพ และจะแสดงออกตามที่ได้รับรู้และเจตคติของเขา
4. การเข้าใจผู้เรียนทั้งในด้านคุณลักษณะและสภาพแวดล้อม จะเป็นผลดีต่อการจัดการเรียนการสอน
การถ่ายโยงการเรียนรู้ (Transfer of Learning)
1. Thorndike กล่าวถึง การถ่ายโยงการเรียนรู้จากสถานการณ์หนึ่งไปสู่อีกสถานการณ์หนึ่งว่า สถานการณ์ทั้ง 2 จะต้องมีองค์ประกอบที่คล้ายคลึงกัน คือ เนื้อหา วิธีการ และเจตคติที่สัมพันธ์กันกับสถานการณ์เดิม
2. Gestalt กล่าวว่า การถ่ายโยงการเรียนรู้จะเกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนได้มองเห็นรูปร่างทั้งหมดของปัญหาและรับรู้ความสัมพันธ์นั้นเข้าไป กล่าวคือ สถานการณ์ใหม่จะต้องสัมพันธ์กับสถานการณ์เดิม
หลักการและแนวคิดที่สำคัญเกี่ยวกับการถ่ายโยงการเรียนรู้
1. การถ่ายโยง ควรจะต้องปลูกฝังความรู้ความคิด เกี่ยวกับกฏเกณฑ์ต่างๆ เป็นพื้นฐานที่สามารถนำไปใช้ในสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกัน
2. ผู้สอนควใช้วิธีการแก้ปัญหา หรือวิธีการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีโอกาสคิดและเกิดทักษะอย่างกว้างขวาง ซึ่งจะเป็นวิธีการที่ช่วยให้เห็นความสัมพันธ์ของความรู้
3. การถ่ายโยงจะเกี่ยวข้องกับความแตกต่างระหว่างบุคคล กิจกรรมการเรียนการสอน จึงต้องคำนึงหลักการดังกล่าว
การสื่อความหมาย (Communication)
การสื่อความหมายเป็นพฤติกรรมสำคัญที่สัตว์สังคมทุกชนิดใช้เป็นเครื่องมือในการติดต่อซึ่งกันและกัน แสดงถึงความเป็นหมู่เหล่าเผ่าพันธุ์เดียวกัน รากศัพท์จากภาษาลาตินว่า Communis หรือ Commus แปลว่า คล้ายคลึง หรือร่วมกันวซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า Communication
การสื่อความหมายจึงเป็นกระบวนการส่งหรือถ่ายทอดความรู้ เนื้อหาสาระ ความรู้สึกนึกคิด ทัศนคติ ค่านิยม ทักษะ ตลอดจนประสบการณ์จากบุคคลฝ่ายหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า "ผู้ส่ง" ไปยังบุคคลอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเรียกว่า "ผู้รับ" เราสามารถส่งข้อมูลได้โดยทางภาพ หรือ ทางเสียง
โครงสร้างและองค์ประกอบของกระบวนการสื่อความหมาย
1. ผู้ส่ง (Source or Sender) แหล่งกำเนิดสาร เป็นสัตว์หรือหน่วยงานก็ได้
2. สาร (Message) คือ เนื้อหาสาระ ทัศนคติ ทักษะ ประสบการณ์ที่มีอยู่ในตัวผู้ส่งหรือแหล่งกำเนิด
3. ช่องทาง (Channel) คือช่องทางต่างๆที่ใช้ในการรับรู้สาร ได้แก่ หู ตา จมูก ปาก เป็นต้น
4. ผู้รับ (Receiver) คือบุคคล องค์การ หรือหน่วยงานที่รับรู้สารจากผู้ส่ง เข้าสู่ตนเอง
- - - หลังจากนั้นอาจารย์ก็ไปเร็วโดยอธิบายย่อๆให้ฟัง แล้วก็มีกระต่ายกับกระเต่า
สรุปความสัมพันธ์ของการรับรู้ การเรียนรู้ และการสื่อความหมาย
จากที่กล่าวมา การเรียนรู้เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวรอันเนื่องเป็นผลมาจากประสบการณ์หรือการปฏิบัติซ้ำๆบ่อยๆ โดยรับรู้ทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 เมื่อเกิดกระบวนการทั้ง 2 อย่างนี้แล้วก็จะทำให้สามารถถ่ายทอดความรู้ความสามารถ เนื้อหา สาระ ความรู้สึกนึกคิด ทัศนคติ ค่านิยม ทักษะ ตลอดจนประสบการณ์จาก ผู้ส่ง ไปยัง ผู้รับ ได้อย่างถูกต้องแม่นยำ
ชั่วโมงที่ 4
...การเรียนรู้และการสื่อความหมาย....
เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษาเป็นสิ่งที่มนุษย์คิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหาทางการศึกษาโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปัญหาด้านการเรียนการสอนหรือการถ่ายทอดความรู้ความคิดต่างๆ แก่บุคคลหรือกลุ่มคนซึ่งบุคคลหรือกลุ่มคน ดังกล่าวมีจิตใจอารมณ์ความรู้สึกนึกคิด มีความสามารถในการรับรู้หรือเรียนรู้ไม่คงที่แน่นอน
ดังนั้นการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษาในการเรียนการสอนจึงจำเป็นต้องใช้ให้สอดคล้องกับปัจจัยทางธรรมชาติของมนุษย์ คือจะต้องอาศัยทฤษฎีและหลักการทางจิตวิทยาการเรียนรู้การสื่อสารรวมทั้งสิ่งแวดล้อมอื่นๆที่จะช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้ดีที่สุด
...ความหมายของการเรียนรู้
การเรียนรู้ หมายถึง กระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวร เป็นผลเนื่องจากประสบการณ์หรือการกระทำที่ย้ำบ่อยๆ
องค์ประกอบของการเรียนรู้
1. แรงขับ (Drive)
2. สิ่งเร้า (Stimulus)
3. การตอบสนอง (Response)
4. การเสริมแรง (Reinforcement)
1. แรงขับ (Drive) คือ ความต้องการที่เกิดขึ้นภายในตัวบุคคล เป็นความพร้อมที่จะเรียนรู้ของแต่ละบุคคลซึ่งแรงขับและความพร้อมเหล่านี้จะก่อให้กิดปฏิกิริยาหรือพฤติกรรมที่ชักนำไปสู่การเรียนรู้
2. สิ่งเร้า (Stimulus) คือ สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ต่างๆซึ่งเป็นตัวที่ทำให้บุคลแสดงการตอบสนองออกมา
3. การตอบสนอง (Response) คือ พฤติกรรมต่างๆที่แสดงออกมาเมื่อบุคคลได้รับการกระตุ้นจากสิ่งเร้า
4. การเสริมแรง (Reinforcement) เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อบุคคลอันมีผลในการเพิ่มพลังให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองเพิ่มขึ้น การเสริมแรงมีทั้งทางบวกและทางลบ
...จุดมุ่งหมายของการเรียนรู้
พฤติกรรมการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายในแนวคิดของบลูม และคณะ มุ่งพัฒนาผู้เรียนใน 3 ด้านดังนี้
1. ด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain) คือผลของการเรียนรู้ที่เป็นความสามารถทางสมอง ครอบคลุมพฤติกรรมประเภทความจำความเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์ สังเคราะห์และประเมินผล
2. ด้านจิตพิสัย (Affective Domain) คือ ผลของการเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลงด้านความรู้สึก ทัศนคติ และค่านิยม
3. ด้านทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) คือ ผลของการเรียนรู้ที่เป็นความสามารถด้านการปฏิบัติ การเคลื่อนไหว การมีทักษะและความชำนาญ
...ลำดับขั้นของการเรียนรู้
ในการเรียนรู้ของคนเรานั้นจะประกอบด้วยลำดับขั้นตอนพื้นฐานที่สำคัญด้วยกัน 3 ขั้นตอน คือ
1. ประสบการณ์ (Experiences) ในบุคคลปกติทุกคนจะมีประสาทสัมผัสที่เป็นที่เข้าใจก็คือ ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวหนัง ประสาทสัมผัสรับรู้เหล่านี้จะเป็นเสมือนช่องประตูที่จะทำให้บุคคลได้รับรู้และตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่างๆ
2. ความเข้าใจ (Understanding) ก็คือการตีความหมายหรือการสร้างมโนมติ (Concept) ในประสบการณ์นั้น กระบวนการนี้ก่อให้เกิดขึ้นในสมองหรือจิตของบุคคล
3. ความนึกคิด (Thinking) ความนึกคิดถือเป็นขั้นสุดท้ายของการเรียนรู้
ตัวอย่างนักจิตวิทยาที่มีความโดดเด่นทางด้านทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนรู้ เช่น Bloom, Mayer, Bruner, Tylor และ Gagne
...การเรียนรู้และการสื่อความหมาย....
เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษาเป็นสิ่งที่มนุษย์คิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหาทางการศึกษาโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปัญหาด้านการเรียนการสอนหรือการถ่ายทอดความรู้ความคิดต่างๆ แก่บุคคลหรือกลุ่มคนซึ่งบุคคลหรือกลุ่มคน ดังกล่าวมีจิตใจอารมณ์ความรู้สึกนึกคิด มีความสามารถในการรับรู้หรือเรียนรู้ไม่คงที่แน่นอน
ดังนั้นการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษาในการเรียนการสอนจึงจำเป็นต้องใช้ให้สอดคล้องกับปัจจัยทางธรรมชาติของมนุษย์ คือจะต้องอาศัยทฤษฎีและหลักการทางจิตวิทยาการเรียนรู้การสื่อสารรวมทั้งสิ่งแวดล้อมอื่นๆที่จะช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้ดีที่สุด
...ความหมายของการเรียนรู้
การเรียนรู้ หมายถึง กระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวร เป็นผลเนื่องจากประสบการณ์หรือการกระทำที่ย้ำบ่อยๆ
องค์ประกอบของการเรียนรู้
1. แรงขับ (Drive)
2. สิ่งเร้า (Stimulus)
3. การตอบสนอง (Response)
4. การเสริมแรง (Reinforcement)
1. แรงขับ (Drive) คือ ความต้องการที่เกิดขึ้นภายในตัวบุคคล เป็นความพร้อมที่จะเรียนรู้ของแต่ละบุคคลซึ่งแรงขับและความพร้อมเหล่านี้จะก่อให้กิดปฏิกิริยาหรือพฤติกรรมที่ชักนำไปสู่การเรียนรู้
2. สิ่งเร้า (Stimulus) คือ สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ต่างๆซึ่งเป็นตัวที่ทำให้บุคลแสดงการตอบสนองออกมา
3. การตอบสนอง (Response) คือ พฤติกรรมต่างๆที่แสดงออกมาเมื่อบุคคลได้รับการกระตุ้นจากสิ่งเร้า
4. การเสริมแรง (Reinforcement) เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อบุคคลอันมีผลในการเพิ่มพลังให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองเพิ่มขึ้น การเสริมแรงมีทั้งทางบวกและทางลบ
...จุดมุ่งหมายของการเรียนรู้
พฤติกรรมการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายในแนวคิดของบลูม และคณะ มุ่งพัฒนาผู้เรียนใน 3 ด้านดังนี้
1. ด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain) คือผลของการเรียนรู้ที่เป็นความสามารถทางสมอง ครอบคลุมพฤติกรรมประเภทความจำความเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์ สังเคราะห์และประเมินผล
2. ด้านจิตพิสัย (Affective Domain) คือ ผลของการเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลงด้านความรู้สึก ทัศนคติ และค่านิยม
3. ด้านทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) คือ ผลของการเรียนรู้ที่เป็นความสามารถด้านการปฏิบัติ การเคลื่อนไหว การมีทักษะและความชำนาญ
...ลำดับขั้นของการเรียนรู้
ในการเรียนรู้ของคนเรานั้นจะประกอบด้วยลำดับขั้นตอนพื้นฐานที่สำคัญด้วยกัน 3 ขั้นตอน คือ
1. ประสบการณ์ (Experiences) ในบุคคลปกติทุกคนจะมีประสาทสัมผัสที่เป็นที่เข้าใจก็คือ ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวหนัง ประสาทสัมผัสรับรู้เหล่านี้จะเป็นเสมือนช่องประตูที่จะทำให้บุคคลได้รับรู้และตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่างๆ
2. ความเข้าใจ (Understanding) ก็คือการตีความหมายหรือการสร้างมโนมติ (Concept) ในประสบการณ์นั้น กระบวนการนี้ก่อให้เกิดขึ้นในสมองหรือจิตของบุคคล
3. ความนึกคิด (Thinking) ความนึกคิดถือเป็นขั้นสุดท้ายของการเรียนรู้
ตัวอย่างนักจิตวิทยาที่มีความโดดเด่นทางด้านทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนรู้ เช่น Bloom, Mayer, Bruner, Tylor และ Gagne
4. พัฒนาเครื่องมือ-วัสดุอุปกรณ์ทางการศึกษา การสอนปัจจุบันต้องมีการพัฒนาให้มีศักยภาพหรือขีดความสามารถในการทำงานให้สูงยิ่งขึ้นไปอีก
แนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรมทางการศึกษา Innovation in Education
ปัจจัยสำคัญ ได้แก่ แนวคิดพื้นฐานทางการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงไป อันมีผลทำให้เกิดนวัตกรรมทา
การศึกษา ที่สำคัญๆ พอจะสรุปได้ 4 ประการ ดังต่อไปนี้
1. ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Difference) การจัดการศึกษาของไทย ให้ความสำคัญคือ เน้นจัดการศึกษาตามความถนัด ความสนใจ และความสามารถของแต่ละคนเป็นเกณฑ์ เช่น การจัดระบบห้องเรียนโดยใช้อายุเป็นเกณฑ์
1.1 การเรียนไม่แบ่งชั้น (Non-Graded School) เช่น โรงเรียนแบบศาลาวัด ที่ ร.ร. สาธิตแห่งมหาวิทายลัยขอนแก่น
1.2 การเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
1.3 เครื่องสอน (Teaching Machine)
1.4 การสอนเป็นคณะ (Team Teaching)
1.5 การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
1.6 คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction)
2. ความพร้อม (Readiness) เดิมเชื่อกันว่า เด็กจะเริ่มเรียนได้เมื่อพร้อม เป็นเรื่องของพัฒนาการตามธรรมชาติ แต่ปัจจุบันการวิจัยทางจิตวิทยาได้ชี้ให้เห็นว่า ความพร้อมในการเรียนสามารถสร้างขึ้นได้ ถ้าหากจัดบทเรียนให้พอเหมาะกับระดับความสามารถของเด็กแต่ละคน นวัตกรรมที่ตอบสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ได้แก่ ศูนย์การเรียน (Learning Center) การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School) การปรับปรุงการสอน 3 ชั้น (Instructional Development in 3 Phases)
3. การใช้เวลาเพื่อการศึกษา แต่เดิมมา การจัดเวลาเพื่อการสอน หรือตารางการสอนมักจัดโดยอาศัยความสะดวกเป็นเกณฑ์ เช่น ถือหน่วยเวลาเป็นชั่วโมง เท่ากันทุกวิชาทุกวัน แต่ปัจจุบันนั้นได้มีความคิดในการจัดป็นหน่วยเวลาสอนให้สัมพันธ์กับลักษณะของแต่ละวิชา ซึ่งอาจจะใช้เวลาไม่เท่ากัน บางวิชาอาจจะใช้ช่วงสั้นๆ แต่สอนบ่อยครั้ง การเรียนก็ไม่จำกัดอยู่แต่ในห้องเรียนเท่านั้น นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น การจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น (Flexible Scheduling) มหาวิทยาลัยเปิด (Open University) แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Instruction) การเรียนทางไปรษณีย์
4. ประสิทธิภาพในการเรียน การขยายตัวทางวิชาการและการเปลี่ยนแปลงของสังคม ทำให้มีสิ่งต่างๆ ที่คนจะต้องเรียนรู้เพิ่มขึ้นมาก แต่การจัดระบบการศึกษาในปัจจุบันยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ จึงจำเป็นต้องแสวงหาวิธีการใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น และปัจจัยภายนอก นวัตกรรมในด้านนี้ที่เกิดขึ้น เช่น มหาวิทยาลัยเปิด การเรียนทางวิทยุ การเรียนทางโทรทัศน์ การเรียนทางไปรษณีย์หรือแบบเรียนสำเร็จรูป ชุดการเรียน
นวัตกรรมทางการศึกษาต่างๆ ที่กล่าวถึงกันมากในปัจจุบัน
- E-learning
การบ้าน : พิมพ์อย่างเดียว นำเสนอหน้าชั้นเรียนด้วยการสรุปความ (ไม่เน้นออกมาอ่าน) เย็บมุม
แนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรมทางการศึกษา Innovation in Education
ปัจจัยสำคัญ ได้แก่ แนวคิดพื้นฐานทางการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงไป อันมีผลทำให้เกิดนวัตกรรมทา
การศึกษา ที่สำคัญๆ พอจะสรุปได้ 4 ประการ ดังต่อไปนี้
1. ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Difference) การจัดการศึกษาของไทย ให้ความสำคัญคือ เน้นจัดการศึกษาตามความถนัด ความสนใจ และความสามารถของแต่ละคนเป็นเกณฑ์ เช่น การจัดระบบห้องเรียนโดยใช้อายุเป็นเกณฑ์
1.1 การเรียนไม่แบ่งชั้น (Non-Graded School) เช่น โรงเรียนแบบศาลาวัด ที่ ร.ร. สาธิตแห่งมหาวิทายลัยขอนแก่น
1.2 การเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
1.3 เครื่องสอน (Teaching Machine)
1.4 การสอนเป็นคณะ (Team Teaching)
1.5 การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
1.6 คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction)
2. ความพร้อม (Readiness) เดิมเชื่อกันว่า เด็กจะเริ่มเรียนได้เมื่อพร้อม เป็นเรื่องของพัฒนาการตามธรรมชาติ แต่ปัจจุบันการวิจัยทางจิตวิทยาได้ชี้ให้เห็นว่า ความพร้อมในการเรียนสามารถสร้างขึ้นได้ ถ้าหากจัดบทเรียนให้พอเหมาะกับระดับความสามารถของเด็กแต่ละคน นวัตกรรมที่ตอบสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ได้แก่ ศูนย์การเรียน (Learning Center) การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School) การปรับปรุงการสอน 3 ชั้น (Instructional Development in 3 Phases)
3. การใช้เวลาเพื่อการศึกษา แต่เดิมมา การจัดเวลาเพื่อการสอน หรือตารางการสอนมักจัดโดยอาศัยความสะดวกเป็นเกณฑ์ เช่น ถือหน่วยเวลาเป็นชั่วโมง เท่ากันทุกวิชาทุกวัน แต่ปัจจุบันนั้นได้มีความคิดในการจัดป็นหน่วยเวลาสอนให้สัมพันธ์กับลักษณะของแต่ละวิชา ซึ่งอาจจะใช้เวลาไม่เท่ากัน บางวิชาอาจจะใช้ช่วงสั้นๆ แต่สอนบ่อยครั้ง การเรียนก็ไม่จำกัดอยู่แต่ในห้องเรียนเท่านั้น นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น การจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น (Flexible Scheduling) มหาวิทยาลัยเปิด (Open University) แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Instruction) การเรียนทางไปรษณีย์
4. ประสิทธิภาพในการเรียน การขยายตัวทางวิชาการและการเปลี่ยนแปลงของสังคม ทำให้มีสิ่งต่างๆ ที่คนจะต้องเรียนรู้เพิ่มขึ้นมาก แต่การจัดระบบการศึกษาในปัจจุบันยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ จึงจำเป็นต้องแสวงหาวิธีการใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น และปัจจัยภายนอก นวัตกรรมในด้านนี้ที่เกิดขึ้น เช่น มหาวิทยาลัยเปิด การเรียนทางวิทยุ การเรียนทางโทรทัศน์ การเรียนทางไปรษณีย์หรือแบบเรียนสำเร็จรูป ชุดการเรียน
นวัตกรรมทางการศึกษาต่างๆ ที่กล่าวถึงกันมากในปัจจุบัน
- E-learning
การบ้าน : พิมพ์อย่างเดียว นำเสนอหน้าชั้นเรียนด้วยการสรุปความ (ไม่เน้นออกมาอ่าน) เย็บมุม
Innovation นวัตกรรม มาจากนวกรรม
Educational Technology เทคโนโลยีทางการศึกษา
1. สื่อวัสดุ (Software) ได้แก่ สไลด์ ฟิล์มภาพยนตร์ บัตรคำ (Word Card)
แผ่นโปร่งใส (Transparency)
ไมโครฟิลม์ (Microfilm)
2. สื่อวัสดุอุปกรณ์ (Hardware)
เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องฉายสไลด์ คอมพิวเตอร์ เครื่องฉายLCD
Liquid Crystal Display
3. เทคนิควิธีการ (Technic หรือ Technique)
Minta Phromwan
14:47
Minta Phromwan
PC54505 Innovation, Technology and Information in Education
ชั่วโมงที่ 2
นวัตกรรม = นว + อตต + กรรม มีความหมายว่า การทำสิ่งใหม่ขึ้นมา
นว = ใหม่
อตต = ตัวเอง
กรรม = กระทำ
Thomas Hughes ให้ความหมาย นวัตกรรมไว้ว่า การนำวิธีการใหม่ๆ มาปฏิบัติ หลังจากได้ผ่านการทดลองหรือได้รับกาพัฒนามาเป็นขั้นๆแล้ว โดยเริ่มตั้งแต่ การคิดค้น (Invention) พัฒนาการ (Development) ซึ่งอาจจะเป็นไปในรูปของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project) แล้วจึงนำไปปฏิบัติจริง ซึ่งมีความแตกต่างไปจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา และเรียกว่า นวัตกรรม (Innovation)
Morton J.A. ได้ให้คำนิยามของ นวัตกรรมไว้ว่า การทำให้ใหม่ขึ้นอีกครั้ง (Renewal) ซึ่งได้แก่ การปรับปรุุงของเก่าและการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรตลอดจนหน่วยงานหรือองค์การนั้นๆ นวัตกรรมไม่ใช่การขจัด หรือล้มล้างสิ่งเก่าให้หมดไป แต่เป็นการปรับปรุงเสริมแต่งและพฒนาเพื่อความอยู่รอดของระบบ
Miles Matthew B. ได้ให้ความหมายไว้ว่า การเปลี่ยนแปลงแนวคิดอย่างถ้วนถี่ การเปลี่ยนแปลงให้ใหม่ขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้เป้าหมายของระบบบรรลุผล
กิดานันท์ มลิทอง ได้ให้ความหมายไว้ว่า การปฏิบัติหรือ สิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาการดัดแปลงจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดีขึ้น เมื่อนำนวตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วยประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย
นวัตกรรม แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ
1. การประดิษฐ์คิดค้น (Innovation) หรือการปรุงแต่งของเก่าให้เหมาะสมกับกาลสมัย
2. พัฒนาการ (Development) มีการทดลองในแหล่งทดลอง จัดทำอยู่ในลักษณะของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project)
3. การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป ซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมขั้นสมบูรณ์
นวัตกรรมการศึกษา Educational Innovation หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำรวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตาม เข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว เกิดแรงจูงใจในการเรียนและช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน
ตัวอย่างการใช้นวัตกรรมการศึกษา ซึ่งมีทั้งนวัตกรรมที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย และประเภทที่กำลังเผยแพร่ นการเรียนการสอนที่ใช้คอมพิวเคอร์ช่วยสอน (Computer Aided Instruction) การใช้แผ่นวีดีทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเทอร์เน็ต (Internet) เป็นต้น วารสารออนไลน์ บรรณปัญญา.htm
Computer Based = Computer Assisted Instruction = Computer Aided Instruction
ความหมายของเทคโนโลยี
การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในกิจกรรมด้านต่างๆ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลง พัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพในกิจกรรมต่างๆเหล่านั้น
เทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Technology)
ตามรูปศัพท์ เทคโน (วิธีการ) + โลยี (วิทยา) หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษา ครอบคลุมระบบการนำวิธีการ มาปรับปรุงประสิทธิภาพของการศึกษาให้สูงขึ้น เทคโนโลยีทางการศึกษา มี 3 อย่าง คือ วัสดุ อุปกรณ์และวิธีการ
สภาเทคโนโลยีทางการศึกษานานาชาติได้ให้ความหมายไว้ เทคโนโลยีทางการศึกษา ว่า
"เป็นพัฒนาการและประยุกต์ระบบ เทคนิคและอุปกรณ์ ให้สามารถนำไปใช้ในสถานการณ์ ได้อย่างเหมาะสมเพื่อสร้างเสริมกระบวนการเรียนรู้ของคนให้ดียิ่งขึ้น"
ดร. เปรื่อง กุมุท ได้กล่าวถึงความหมายของ เทคโนโลยีทางการศึกษา ว่า เป็นการขยายขอบข่ายของการใช้สื่อการสอนให้กว้างขวางขึ้น ทั้งในด้านบุคคล วัสดุ เครื่องมือ สถานที่ และกิจกรรมต่างๆในกระบวนการเรียนการสอน
Edgar Dale กล่าวว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา ไม่ใช่เครื่องมือ แต่เป็นแผนการหรือวิธีการทำงานอย่างเป็นระบบให้บรรลุตามแผนการ
แนวคิดเกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการศึกษา
เทคโนโลยีทางการศึกษา เป็นการขยายแนวคิดเกี่ยวกับโสตทัศนศึกษาให้กว้างขวางขึ้น ทั้งนี้ เนื่องจากโสตทัศนศึกษาหมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับการใช้ตาดูหูฟัง ดังนั้นอุปกรณ์ในสมัยก่อนมักเน้นการใช้ประสาทสัมผัสด้านการฟังและการดูเป็นหลัก จึงใช้คำว่า โสตทัศนศึกษา (Audio-Visual Education)
เทคโนโลยีทางการศึกษา มีความหมายที่กว้างกว่า ซึ่งอาจพิจารณาจากความคิดรวบยอดของเทคโนโลยี ได้เป็น 2 ประการ คือ
1. ความคิดรวบยอด ทางวิทยาศาสตร์กายภาพ ตามความคิดรวบยอดนี้ เทคโนโลยีทางการศึกษา หมายถึง การประยุกต์วิทยาศาสตร์กายภาพ ในรูปของสิ่งประดิษฐ์ เช่น เครื่องฉายภาพยนต์ โทรทัศน์ อื่นๆ มาใช้สำหรับการเรียนรู้ของนักเรียนเป็นส่วนใหญ่ กรใช้เครื่องมือเหล่านี้มักคำนึงถึงเฉพาะการควบคุมให้เครื่องทำงานซึ่งไม่คำนึงถึงจิตวิทยาการเรียนรู้โดยเฉพาะเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล และการเลือกสื่อให้ตรงกับเนื้อหาวิชา
ความหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษา ตามคามคิดรวบยอดนี้ ทำให้บทบาทของเทคโนโลยีทางการศึกษาแคบลงไป คือมีเพียงวัสดุ และอุปกรณ์เท่านั้น ไม่รวมวิธีการหรือปฏิกริยาสัมพันธ์อื่นๆเข้าไปด้วย ซึ่งตามความหมายนี้ก็คือ "โสตทัศนศึกษา" นั่งเอง
2. ความคิดรวบยอดทางพฤติกรรมศาสตร์ เป็นการนำวิธีการทางจิตวิทยา มนุษยวิทยา กระบวนการกลุ่ม ภาษา การสื่อความหมาย การบริหาร เครื่องยนต์กลไก การับรู้มาใช้ควบคู่กับผลิตกรรมทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมเพื่อให้ผู้เรียนเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น มิใช่เพียงการใช้เครื่องมืออุปกรณืเท่านั้น แต่รวมถึงวิธีการทา
วิทยาศาสตร์เข้าไปด้วย มิใช่วัสดุ หรืออุปกรณ์แต่เพียงอย่างเดียว
เป้าหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษา
1. การขยายพิสัยของทรัพยากรของการเรียนรู้ กล่าวคือ แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้มิได้หมายถึงแต่เพียงตำรา ครู และอุปกรณ์การสอนที่โรงเรียนมีอยู่เท่านั้น แนวคิดทางเทคโนโลยีทางการศึกษา ต้องการให้ ผู้เรียนมีโอกาสทางการศึกษาจากแหล่งความรู้ที่กว้างขวางออกไปอีก แหล่งทรัพยากรทางการเรียนรู้ครอบคลุมถึงเรื่องต่างๆ เช่น คน วัสดุและเครื่องมือ และเทคนิค-วิธีการ
1.1 คน เช่น ครู และวิทยากรอื่นๆ ซึ่งอยู่นอกโรงเรียน เช่น เกษตรกร ตำรวจ บุรุษไปรษณีย์ เป็นต้น
1.2 วัสดุและเครื่องมือ ได้แก่ โสตทัศน์วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ เช่น ภาพยนตร์ วิทยุ โทรทัศน์ เครื่องวิดีโอเทปของ จริง ของจำลองสิ่งพิมพ์ รวมถึงการใช้สื่อมวลชนต่างๆ
1.3 เทคนิค-วิธีการ เช่น เน้นให้ผู้เรียนเผ็นศูนย์กลาง โดยการให้นักเรียนไปหาข้อมูลมารายงานหน้าชั้นเรียนเป็นต้น
1.4 สถานที่ ได้แก่ โรงเรียน ห้องปฏิบัติการทดลอง โรงฝึกงาน ไร่นา ฟาร์ม ที่ทำการรัฐบาล ภูเขา แม่น้ำ ทะเลหรือสถานที่ใดๆ ที่ช่วยเพิ่มประสบการณ์ที่ดีแก่ผู้เรียนได้
2. การเน้นการเรียนรู้แบบเอกัตบุคคล นักจิตวิทยาได้คิด "แบบเรียนโปรแกรม" ซึ่งทำหน้าที่สอนเหมือนกับครูาสอน นักเรียนจะเรียนด้วยตนเองจากแบบเรียนในรูปแบบเรียนเป็นเล่ม หรือเครื่องสอนหรือสื่อประสมหลายๆ อย่าง จะเรียนช้าหรือเร็วก็ทำได้ ตามความสามารถของผู้เรียนแต่ละคน
3. การใช้วิธีวิเคราะห์ระบบในการศึกษา การใช้วิธีระบบในการปฏิบัติหรือแก้ปัญหา เป็นวิธีการที่เป็นวิทยาศาสตร์ที่เชื่อถือได้ ว่าจะสามารถแก้ปัญหาหรือช่วยให้งานบรรลุเป้าหมายได้ เนื่องจากกระบวนการของวิธีระบบ เป็นการวิเคราะห์องค์ประกอบของงานหรือของระบบอย่างมีเหตุผล หาทางให้ส่วนต่างๆของระบบทำงานประสานสัมพันธ์กันอย่างมีประสิทธิภาพ
Educational Technology เทคโนโลยีทางการศึกษา
1. สื่อวัสดุ (Software) ได้แก่ สไลด์ ฟิล์มภาพยนตร์ บัตรคำ (Word Card)
แผ่นโปร่งใส (Transparency)
ไมโครฟิลม์ (Microfilm)
2. สื่อวัสดุอุปกรณ์ (Hardware)
เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องฉายสไลด์ คอมพิวเตอร์ เครื่องฉายLCD
Liquid Crystal Display
3. เทคนิควิธีการ (Technic หรือ Technique)
Minta Phromwan
14:47
Minta Phromwan
PC54505 Innovation, Technology and Information in Education
ชั่วโมงที่ 2
นวัตกรรม = นว + อตต + กรรม มีความหมายว่า การทำสิ่งใหม่ขึ้นมา
นว = ใหม่
อตต = ตัวเอง
กรรม = กระทำ
Thomas Hughes ให้ความหมาย นวัตกรรมไว้ว่า การนำวิธีการใหม่ๆ มาปฏิบัติ หลังจากได้ผ่านการทดลองหรือได้รับกาพัฒนามาเป็นขั้นๆแล้ว โดยเริ่มตั้งแต่ การคิดค้น (Invention) พัฒนาการ (Development) ซึ่งอาจจะเป็นไปในรูปของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project) แล้วจึงนำไปปฏิบัติจริง ซึ่งมีความแตกต่างไปจากการปฏิบัติเดิมที่เคยปฏิบัติมา และเรียกว่า นวัตกรรม (Innovation)
Morton J.A. ได้ให้คำนิยามของ นวัตกรรมไว้ว่า การทำให้ใหม่ขึ้นอีกครั้ง (Renewal) ซึ่งได้แก่ การปรับปรุุงของเก่าและการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรตลอดจนหน่วยงานหรือองค์การนั้นๆ นวัตกรรมไม่ใช่การขจัด หรือล้มล้างสิ่งเก่าให้หมดไป แต่เป็นการปรับปรุงเสริมแต่งและพฒนาเพื่อความอยู่รอดของระบบ
Miles Matthew B. ได้ให้ความหมายไว้ว่า การเปลี่ยนแปลงแนวคิดอย่างถ้วนถี่ การเปลี่ยนแปลงให้ใหม่ขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้เป้าหมายของระบบบรรลุผล
กิดานันท์ มลิทอง ได้ให้ความหมายไว้ว่า การปฏิบัติหรือ สิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาการดัดแปลงจากของเดิมที่มีอยู่แล้วให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดีขึ้น เมื่อนำนวตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วยประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย
นวัตกรรม แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ
1. การประดิษฐ์คิดค้น (Innovation) หรือการปรุงแต่งของเก่าให้เหมาะสมกับกาลสมัย
2. พัฒนาการ (Development) มีการทดลองในแหล่งทดลอง จัดทำอยู่ในลักษณะของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project)
3. การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป ซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมขั้นสมบูรณ์
นวัตกรรมการศึกษา Educational Innovation หมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำรวมทั้งสิ่งประดิษฐ์ก็ตาม เข้ามาใช้ในระบบการศึกษา เพื่อมุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงสิ่งที่มีอยู่เดิมให้ระบบการจัดการศึกษามีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว เกิดแรงจูงใจในการเรียนและช่วยให้ประหยัดเวลาในการเรียน
ตัวอย่างการใช้นวัตกรรมการศึกษา ซึ่งมีทั้งนวัตกรรมที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย และประเภทที่กำลังเผยแพร่ นการเรียนการสอนที่ใช้คอมพิวเคอร์ช่วยสอน (Computer Aided Instruction) การใช้แผ่นวีดีทัศน์เชิงโต้ตอบ (Interactive Video) สื่อหลายมิติ (Hypermedia) และอินเทอร์เน็ต (Internet) เป็นต้น วารสารออนไลน์ บรรณปัญญา.htm
Computer Based = Computer Assisted Instruction = Computer Aided Instruction
ความหมายของเทคโนโลยี
การนำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในกิจกรรมด้านต่างๆ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลง พัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพในกิจกรรมต่างๆเหล่านั้น
เทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Technology)
ตามรูปศัพท์ เทคโน (วิธีการ) + โลยี (วิทยา) หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษา ครอบคลุมระบบการนำวิธีการ มาปรับปรุงประสิทธิภาพของการศึกษาให้สูงขึ้น เทคโนโลยีทางการศึกษา มี 3 อย่าง คือ วัสดุ อุปกรณ์และวิธีการ
สภาเทคโนโลยีทางการศึกษานานาชาติได้ให้ความหมายไว้ เทคโนโลยีทางการศึกษา ว่า
"เป็นพัฒนาการและประยุกต์ระบบ เทคนิคและอุปกรณ์ ให้สามารถนำไปใช้ในสถานการณ์ ได้อย่างเหมาะสมเพื่อสร้างเสริมกระบวนการเรียนรู้ของคนให้ดียิ่งขึ้น"
ดร. เปรื่อง กุมุท ได้กล่าวถึงความหมายของ เทคโนโลยีทางการศึกษา ว่า เป็นการขยายขอบข่ายของการใช้สื่อการสอนให้กว้างขวางขึ้น ทั้งในด้านบุคคล วัสดุ เครื่องมือ สถานที่ และกิจกรรมต่างๆในกระบวนการเรียนการสอน
Edgar Dale กล่าวว่า เทคโนโลยีทางการศึกษา ไม่ใช่เครื่องมือ แต่เป็นแผนการหรือวิธีการทำงานอย่างเป็นระบบให้บรรลุตามแผนการ
แนวคิดเกี่ยวกับเทคโนโลยีทางการศึกษา
เทคโนโลยีทางการศึกษา เป็นการขยายแนวคิดเกี่ยวกับโสตทัศนศึกษาให้กว้างขวางขึ้น ทั้งนี้ เนื่องจากโสตทัศนศึกษาหมายถึง การศึกษาเกี่ยวกับการใช้ตาดูหูฟัง ดังนั้นอุปกรณ์ในสมัยก่อนมักเน้นการใช้ประสาทสัมผัสด้านการฟังและการดูเป็นหลัก จึงใช้คำว่า โสตทัศนศึกษา (Audio-Visual Education)
เทคโนโลยีทางการศึกษา มีความหมายที่กว้างกว่า ซึ่งอาจพิจารณาจากความคิดรวบยอดของเทคโนโลยี ได้เป็น 2 ประการ คือ
1. ความคิดรวบยอด ทางวิทยาศาสตร์กายภาพ ตามความคิดรวบยอดนี้ เทคโนโลยีทางการศึกษา หมายถึง การประยุกต์วิทยาศาสตร์กายภาพ ในรูปของสิ่งประดิษฐ์ เช่น เครื่องฉายภาพยนต์ โทรทัศน์ อื่นๆ มาใช้สำหรับการเรียนรู้ของนักเรียนเป็นส่วนใหญ่ กรใช้เครื่องมือเหล่านี้มักคำนึงถึงเฉพาะการควบคุมให้เครื่องทำงานซึ่งไม่คำนึงถึงจิตวิทยาการเรียนรู้โดยเฉพาะเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล และการเลือกสื่อให้ตรงกับเนื้อหาวิชา
ความหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษา ตามคามคิดรวบยอดนี้ ทำให้บทบาทของเทคโนโลยีทางการศึกษาแคบลงไป คือมีเพียงวัสดุ และอุปกรณ์เท่านั้น ไม่รวมวิธีการหรือปฏิกริยาสัมพันธ์อื่นๆเข้าไปด้วย ซึ่งตามความหมายนี้ก็คือ "โสตทัศนศึกษา" นั่งเอง
2. ความคิดรวบยอดทางพฤติกรรมศาสตร์ เป็นการนำวิธีการทางจิตวิทยา มนุษยวิทยา กระบวนการกลุ่ม ภาษา การสื่อความหมาย การบริหาร เครื่องยนต์กลไก การับรู้มาใช้ควบคู่กับผลิตกรรมทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมเพื่อให้ผู้เรียนเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น มิใช่เพียงการใช้เครื่องมืออุปกรณืเท่านั้น แต่รวมถึงวิธีการทา
วิทยาศาสตร์เข้าไปด้วย มิใช่วัสดุ หรืออุปกรณ์แต่เพียงอย่างเดียว
เป้าหมายของเทคโนโลยีทางการศึกษา
1. การขยายพิสัยของทรัพยากรของการเรียนรู้ กล่าวคือ แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้มิได้หมายถึงแต่เพียงตำรา ครู และอุปกรณ์การสอนที่โรงเรียนมีอยู่เท่านั้น แนวคิดทางเทคโนโลยีทางการศึกษา ต้องการให้ ผู้เรียนมีโอกาสทางการศึกษาจากแหล่งความรู้ที่กว้างขวางออกไปอีก แหล่งทรัพยากรทางการเรียนรู้ครอบคลุมถึงเรื่องต่างๆ เช่น คน วัสดุและเครื่องมือ และเทคนิค-วิธีการ
1.1 คน เช่น ครู และวิทยากรอื่นๆ ซึ่งอยู่นอกโรงเรียน เช่น เกษตรกร ตำรวจ บุรุษไปรษณีย์ เป็นต้น
1.2 วัสดุและเครื่องมือ ได้แก่ โสตทัศน์วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ เช่น ภาพยนตร์ วิทยุ โทรทัศน์ เครื่องวิดีโอเทปของ จริง ของจำลองสิ่งพิมพ์ รวมถึงการใช้สื่อมวลชนต่างๆ
1.3 เทคนิค-วิธีการ เช่น เน้นให้ผู้เรียนเผ็นศูนย์กลาง โดยการให้นักเรียนไปหาข้อมูลมารายงานหน้าชั้นเรียนเป็นต้น
1.4 สถานที่ ได้แก่ โรงเรียน ห้องปฏิบัติการทดลอง โรงฝึกงาน ไร่นา ฟาร์ม ที่ทำการรัฐบาล ภูเขา แม่น้ำ ทะเลหรือสถานที่ใดๆ ที่ช่วยเพิ่มประสบการณ์ที่ดีแก่ผู้เรียนได้
2. การเน้นการเรียนรู้แบบเอกัตบุคคล นักจิตวิทยาได้คิด "แบบเรียนโปรแกรม" ซึ่งทำหน้าที่สอนเหมือนกับครูาสอน นักเรียนจะเรียนด้วยตนเองจากแบบเรียนในรูปแบบเรียนเป็นเล่ม หรือเครื่องสอนหรือสื่อประสมหลายๆ อย่าง จะเรียนช้าหรือเร็วก็ทำได้ ตามความสามารถของผู้เรียนแต่ละคน
3. การใช้วิธีวิเคราะห์ระบบในการศึกษา การใช้วิธีระบบในการปฏิบัติหรือแก้ปัญหา เป็นวิธีการที่เป็นวิทยาศาสตร์ที่เชื่อถือได้ ว่าจะสามารถแก้ปัญหาหรือช่วยให้งานบรรลุเป้าหมายได้ เนื่องจากกระบวนการของวิธีระบบ เป็นการวิเคราะห์องค์ประกอบของงานหรือของระบบอย่างมีเหตุผล หาทางให้ส่วนต่างๆของระบบทำงานประสานสัมพันธ์กันอย่างมีประสิทธิภาพ
วันพุธที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2556
การสืบค้นข้อมูล
การสืบค้นข้อมูล
ความหมายของเครื่องช่วยค้นหา(Search Engines)
คือ เครื่องมือหรือเว็บไซต์ที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในการค้นหาข้อมูลและข่าวสาร ที่อยู่ของเว็บไซต์ (Address) ต่าง ๆ ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เนื่องจากปัจจุบันการใช้งานบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีการพัฒนาไปค่อนข้างมาก และโดยการใช้งานที่สะดวกขึ้น ทำให้เว็บที่เป็นแหล่งรวมข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเกิดขึ้นอย่างมากมายมหาศาล
ประเภทของเครื่องช่วยค้นหา (Search Engines)
อินเด็กเซอร์ (Indexers)
Search Engines แบบอินเด็กเซอร์จะมีโปรแกรมช่วยจัดการหาข้อมูลในการค้นหา หรือที่เรียกว่า Robot วิ่งไปมาในอินเทอร์เน็ตโดยอัตโนมัติ เพื่ออ่านข้อมูลจากเว็บเพจ (Web Pages) ต่าง ๆ ทั่วโลกมาจัดทำเป็นฐานข้อมูลไว้ โดยจะใช้ตัวอินเด็กซ์ (Index) ค้นหาจากข้อความในเว็บเพจที่ได้สำรวจมาแล้ว
ตัวอย่างของเว็บไซด์ที่ให้บริการตามแบบอินเด็กเซอร์
- http://www.altavista.com/ - http://www.excite.com/
- http://www.hotbot.com/ - http://www.magellan.com/
- http://www.webcrawler.com/
ไดเร็กทอรี (Directories)
Search Engines แบบไดเร็กทอรีจะใช้การเก็บรวบรวมข้อมูล โดยแบ่งออกเป็นหมวดหมู่ ซึ่งก็เปรียบเสมือนกับเป็นแค็ตตาล็อกสินค้า (Catalog) เราสามารถเลือกจากหมวดหมู่ใหญ่ แล้วเลือกดูหมวดหมู่ย่อย ๆ ลงไปเรื่อย ๆ จนพบกับข้อมูลที่ต้องการ โดยจะแสดงรายละเอียดเกี่ยวกับตำแหน่ง URL และรายละเอียดเกี่ยวกับ URL นั้น ๆ ซึ่งได้มาจากการวิเคราะห์เนื้อหาของแต่ละเว็บเพจว่าเกี่ยวกับเรื่องอะไรตัวอย่างของเว็บไซต์ที่ให้บริการด้วยไดเร็กทอรี
-http://www.yahoo.com/ - http://www.lycos.com/
- http://www.looksmart.com/ - http://www.galaxy.com/
- http://www.askjeeves.com/ - http://www.siamguru.com/
เมตะเสิร์ช (Metasearch)
Search Engines แบบเมตะเสิร์ชจะใช้หลาย ๆ วิธีการมาช่วยในการค้นหาข้อมูล โดยจะรับคำสั่งค้นหาจากเรา แล้วส่งต่อไปยังเว็บไซต์ที่เป็น Search Engines หลาย ๆ แห่งพร้อม ๆ กัน ทำให้เราสามารถเข้าถึงเว็บไซต์ Search Engines ต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว จากนั้นก็จะสรุปแสดงผลลัพธ์ออกมา
ตัวอย่างของเว็บไซต์ที่ให้บริการด้วยเมตะเสิร์ช
- http://www.dogpile.com/
- http://www.profusion.com/
- http://www.metacrawler.com/
- http://www.highway61.com/
- http://www.thaifind.com/
เว็บไซต์ที่ให้บริการค้นหาข้อมูลที่ได้รับความนิยม
Yahoo
เป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการค้นหาข้อมูลแบบไดเร็กทอรี่ เป็นรายแรกในอินเทอร์เน็ต และเป็นเว็บไซต์ที่มีผู้ใช้งานสูงสุดในปัจจุบัน เพราะมีการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระเบียบ และผู้ใช้บริการมีโอกาสที่จะได้รับข้อมูลตรงกับความต้องการสูง การใช้งาน Yahoo แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ การค้นหาในแบบเมนู และการค้นหาแบบวิธีระบุคำที่ต้องการค้นหา
Altavista
เป็น Search Engines ของบริษัท Digital Equipment Corp. หรือ DEC ซึ่งมีฐานข้อมูลที่มีขนาดใหญ่มาก และมีโปรแกรมที่ช่วยในการค้นหาที่มีความสามารถสูงเป็นจุดเด่น โดยมีเว็บเพจอินเด็กซ์ (Indexed Web Pages) เป็นจำนวนมากกว่า 150 ล้านเว็บเพจที่เราสามารถใช้ในการค้นหาข้อมูล
Excite
เป็น Search Engines ที่มีจำนวนไซต์ (site) ในคลังข้อมูลมากที่สุดตัวหนึ่งและสามารถค้นหาข้อมูลที่เป็นคำหรือความหมายของคำได้ โดยจะทำการค้นหาข้อมูลจาก World Wide Web และ Newsgroups เป็นหลัก จากการที่ excite มีข้อมูลในคลังข้อมูลเป็นจำนวนมาก ทำให้ผลลัพธ์ในการค้นหาข้อมูลที่ได้มีเป็นจำนวนมากตามไปด้วย
Hotbot
เป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการค้นหาข้อมูลที่ได้รับความนิยมอีกเว็บไซต์หนึ่ง มีจุดเด่นตรงที่สามารถกำหนดเงื่อนไขขั้นสูงได้ง่ายกว่าเครื่องมือค้นหาอื่น ๆ
Go.com
เว็บไซต์ที่มีการนำเสนอข่าวทันเหตุการณ์ต่าง ๆ จากแหล่งข่าวต่าง ๆ เป็นจำนวนมากตลอดจนข่าวในด้านบันเทิง (Entertainment News) นอกจากนี้ยังมีการรายงานข้อมูลเกี่ยวกับหุ้นจากตลาดหลักทรัพย์ต่าง ๆ
Lycos
ฐานข้อมูลของ Lycos มีขนาดใหญ่มาก ซึ่งมีคลังข้อมูลมากกว่า 1,500,000 ไซต์และมีเทคนิคในการค้นหาข้อมูลที่ดีมากด้วย โดยมีระบบการค้นหาข้อมูลที่รวดเร็วที่สามารถลงไปค้นหาข้อมูลจาก World Wide Web ได้ทุกรูปแบบจนถึงการค้นเป็นคำต่อคำ
Looksmart
เกิดขึ้นจากความคิดของชาวออสเตรเลีย 2 คนที่ไม่ประทับใจการค้นหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ตสมัยนั้น โดยขอความช่วยเหลือทางการเงินจาก Reader’s Digest ทั้งสองจึงลงมือสร้างเว็บไซต์ค้นหาข้อมูลที่คำนึงถึงความใช้ง่ายให้เหมะกับทั้งมือใหม่และผู้ที่ชำนาญอินเทอร์เน็ต
WebCrawler
เป็นเว็บไซต์ที่มีคลังข้อมูลอยู่ในระดับปานกลาง การค้นหาข้อมูลของ WebCrawlerจะมีข้อจำกัดก็คือ ใช้ค้นหาข้อมูลที่เป็นวลีหรือข้อความทั้งข้อความไม่ได้ จะสามารถค้นหาข้อมูลได้เฉพาะที่เป็นคำ ๆ เท่านั้น
Dog pile
เป็นเว็บไซต์ประเภทเมตะเสิร์ชที่ใช้งานง่าย และค้นหาข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว โดยการพิมพ์คำที่เราต้องการค้นหาลงในช่องค้นหา และคลิกปุ่ม Fetch โดยผลลัพธ์ของการค้นหาจะถูกแสดงขึ้นมาบนจอภาพอย่างรวดเร็ว
Ask jeeves
เป็นเว็บไซต์น้องใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมในอินเทอร์เน็ต โดยเราสามารถถามคำถามที่เราอยากรู้โดยพิมพ์คำถามลงไปในช่องกรอกข้อความ และคลิกปุ่ม Ask แล้ว Ask jeeves จะไปทำการค้นหาคำตอบ (Answer) จากเว็บไซต์ต่าง ๆ ให้เรา
ProFusion
เป็นเว็บไซต์ที่ให้บริการค้นหาข้อมูลแบบเมตะเสิร์ช โดยค้นหาข้อมูลจาก Search Engines ที่ได้รับความนิยมถึง 9 แห่งด้วยกัน โดยเราสามารถเลือกได้ว่าจะใช้ Search Engines ใดในการค้นหาข้อมูลทำให้สามารถค้นหาข้อมูลได้สะดวกรวดเร็วและตรงกับความต้องการ
Siamguru.com
siamguru.com ภายใต้สมญานาม “เสิร์ชฯ ไทยพันธุ์แท้” (Real Thai Search Engine) เป็นเว็บไซต์ที่มีเครื่องมือค้นหาสำหรับคนไทยที่ดีที่สุดในประเทศไทย โดยให้บริการค้นหาข้อความแบบธรรมดาและแบบพิเศษ ค้นหาภาพ ค้นหาเพลง นักร้องต่าง ๆ โดยใช้เทคโนโลยีการค้นหาที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดสำหรับการค้นหาภาษาไทย ตลอดจนมีระบบการเก็บข้อมูลใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลา
การใช้งาน Search Engines
การระบุคำที่ต้องการค้นหาหรือใช้คีย์เวิร์ด Yahoo.com การค้นหาข้อมูลด้วยวิธีนี้ ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจะต้องป้อนข้อความที่ต้องการค้นหาหรือเรียกว่าคีย์เวิร์ด (Keyword) ลงไปในช่องสำหรับกำหนดการค้นหา ในเว็บไซต์ที่ให้บริการค้นหาข้อมูล
การค้นหาจากหมวดหมู่ (Directories)
ในปัจจุบันเว็บไซต์ประเภท ต่าง ๆ มักจะมีการค้นหาแบบระบุคำหรือใช้คีย์เวิร์ด และการค้นหาจากหมวดหมู่ควบคู่กันไป ซึ่งการค้นหาจากหมวดหมู่จะมีการแบ่งหัวข้อต่าง ๆ ออกเป็นหัวข้อหลัก และในแต่ละหัวข้อหลักก็ประกอบไปด้วยหัวข้อย่อยลงไปเรื่อย ๆ ผู้ใช้สามารถคลิกที่ลิงก์ ไปยังหัวข้อย่อยต่าง ๆ จนพบกับข้อมูลที่ต้องการ
เทคนิคในการค้นหาข้อมูล
เทคนิคสำคัญที่ช่วยให้การค้นหาข้อมูลประสบความสำเร็จมีอะไรบ้าง
เทคนิคและวิธีการที่ช่วยให้การค้นหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ตประสบความสำเร็จ ได้แก่
1. บีบประเด็นให้แคบลง เนื่องจากจำนวนข้อมูลที่มีมากมายในอินเทอร์เน็ตทำให้การค้นหาได้ผลลัพธ์ออกมาเป็นจำนวนมาก
2. ใช้สิ่งที่เรียกว่าออปชัน (Option) เป็นตัวช่วยในการค้นหาข้อมูล ซึ่งเว็บไซต์ที่เป็น Search Engines ส่วนใหญ่จะมีให้อยู่แล้ว
3. อย่าค้นหาคำที่เราต้องการเท่านั้น ควรจะค้นหาคำที่มีความหมายเหมือนกันหรือใกล้เคียงกันด้วย
4. หลีกเลี่ยงการค้นหาคำที่เป็นคำเดี่ยว ๆ หรือมีตัวเลขปนอยู่ เช่น NT หรือ 3D แต่ถ้าต้องการค้นหาจริง ๆ จะต้องใส่เครื่องหมายคำพูดลงไปด้วย (“ ”)
5. พวกกลุ่มคำ หรือวลี ก็ต้องใส่เครื่องหมายคำพูดลงไปเช่นเดียวกัน
6. หลีกเลี่ยงคำจำพวก Natural Language (ภาษาพูด)
7. ควรใช้สิ่งที่เรียกว่า Advanced Search หรือ Power Search เข้ามาช่วย เพราะจะทำให้ได้ผลลัพธ์ที่ตรงกับความต้องการของเรามากกว่าการค้นหาแบบธรรมดา
8. พยายามอย่าตั้งคำถามโดยมีคำนำหน้านาม (Articles) นำหน้าคำที่เราต้องการค้นหา เช่น การใช้ an หรือ the นำหน้า
9. ตรวจสอบข้อความหรือคำที่ต้องการค้นหาเพื่อให้แน่ใจว่าไม่ได้พิมพ์หรือสะกดคำผิด
10. ถ้าผลลัพธ์ที่ได้จากคำถามครั้งแรกไม่ตรงกับความต้องการของเรา ให้ทดลองเปลี่ยนคำถามเล็กน้อย
11. คำที่มีความหมายเหมือนกันหรือคล้ายกัน (Synonym) ยกตัวอย่างเช่น คำว่า “Mother Board” เราสามารถใช้คำว่า “Main board” แทนได้
12. ถ้าคำถามของเรามีคำที่ต้องแยกจากัน เช่น คำว่า “Mother Board” เราจำเป็นต้องใช้เครื่องหมายอัญประกาศ หรือเครื่องหมายคำพูด (“ ”) เพราะจะทำให้ Search Engines มองรูปของคำว่า “Mother Board” เป็นข้อความเดียวกัน
13. ใช้ Help ให้เป็นประโยชน์ เพราะ Help เหล่านั้นจะมีเทคนิคหรือวิธีการของแต่ละ Search Engines ที่ช่วยแนะนำเทคนิคต่าง ๆ ที่สามารถใช้ได้หรือไม่ได้บนเว็บ Search Engines นั้น ๆ และยังมีข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่าง ๆ อีกมากมาย ซึ่งจะช่วยให้เราได้รับความสะดวกรวดเร็วในการค้นหาด้วย
การใช้โปรแกรมเบราว์เซอร์ค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต
การค้นกาข้อมูลโดย Internet Explorer
1.คลิกเม้าส์ที่ปุ่ม Search บนแถบเครื่องมือ
2.จะปรากฏหน้าต่าง Search ขึ้นมาทางด้านซ้ายของหน้าต่าง คลิกที่ปุ่ม Customize
3.จะปรากฏหน้าต่าง Customize Search Setting บนจอภาพ ซึ่งเราจะเห็นได้ว่ามี Search Engines ต่าง ๆ ให้เราสามารถเลือกใช้ในการค้นหาข้อมูล
4.คลิกที่ปุ่ม OK
5.เลือกสิ่งที่ต้องการให้โปรแกรม Internet Explorer ค้นหา
6.กรอกข้อความ แล้วคลิกเม้าส์ที่ปุ่ม เพื่อเริ่มต้นการค้นหา
7.จะปรากฏรายชื่อเว็บไซต์ที่มีข้อมูลที่เราต้องการ เราสามารถคลิกเม้าส์ที่ชื่อเว็บไซต์เหล่านั้นได้ทันที
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)